top of page
Chill

      ตลอดการเล่นดนตรีของผม ผมสังเกตุเห็นว่านักศึกษาเวลาฟังดนตรีคลาสสิคมักจะไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง แต่เป็นเพราะจำเป็นต้องศึกษาเพลงในฐานะผู้เรียนหรือผู้ชมทั่วไปที่มีอาการง่วงจากการฟังดนตรีคลาสสิคหรือไม่มีความสนใจอาจจะเพราะว่า

ดนตรีคลาสสิคไม่ใช่ดนตรีที่เหมาะกับยุคสมัยของพวกเขา

       เนื่องจากวัฒนธรรมของคนแต่ละยุคนั้นแตกต่างกัน ทำให้การฟังดนตรีก็เปลี่ยนไปด้วย จากที่คนในยุคก่อนๆเรียนดนตรีเพราะเป็นวิธีทางหนึ่งที่ใช้ในการเข้าสังคม ทำให้พวกเขาเข้าใจตัวดนตรีจริงๆการฟังดนตรีคลาสสิคจึงไม่ต่างจากเพลงป็อปในยุคสมัยของเรา แต่ถ้าหากเทียบกับคนในยุคปัจจุบันแล้ว คนในยุคปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ดนตรีมากเท่ากับคนยุคก่อนๆ  ทำให้เข้าใจดนตรีอย่างผิวเผินเท่านั้น

     ผมจึงมีเป้าหมายที่จะทำให้ผู้ชมมีสุนทรีย์ร่วมไปกับการแสดงและเป็น Active Listener โดยระหว่างการแสดง จะให้ผู้ฟังออกความคิดเห็นผ่านแบบสอบถามว่าแต่ละบทเพลงหมายถึงอะไร ทำให้ผู้ฟังตั้งใจฟังมากขึ้น

Two-way of Listening

Active Listening 

     Active Listeningคือการฟังอย่างกระตือรือร้น 

เมื่อผู้ฟัง ฟังอย่างเต็มที่และตอบสนองต่อแนวคิดที่นำเสนอโดยผู้พูด สิ่งที่มักเป็นตัวบ่งบอกแทนคำพูดคือ การพยักหน้ายิ้มการแสดงออกทางสีหน้าเพื่อตอบสนองต่อความคิดของผู้พูด

 ผู้ฟังยังสามารถถามคำถามชี้แจงความคิดและแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่ได้รับ นำเสนอ ในการฟังที่กระตือรือร้นผู้ฟังมีส่วนร่วมใน การฟังการวิเคราะห์ และ การฟังแบบลึก ผู้ฟังไม่ฟังเพียงอย่างเดียว แต่ยังวิเคราะห์แนวคิดและประเมินผลพวกเขาขณะฟัง

Passive Listening 

 Passive Listening ผู้ฟังจะไม่ตอบสนองต่อความคิดของผู้พูดมากนะ แต่เพียงแค่ฟัง ในกรณีนี้ผู้ฟังจะไม่พยายามถามคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดที่นำเสนอ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ฟังจะไม่ใส่ใจกับผู้พูดมากนัก ในทางตรงกันข้ามแม้ว่าเขาจะฟัง เขาก็ไม่มีความพยายามที่จะตอบโต้ 

***ตัวอย่างเช่นสมมติว่าคุณกำลังเข้าร่วมการสัมมนากับผู้คนหลายร้อยคน นั่นหมายความว่าคุณมีส่วนร่วมในการฟังแบบพาสซีฟเนื่องจากมีโอกาสน้อยในการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ฟังไม่ได้ติดต่อสายตาและไม่มีที่ว่างสำหรับการถาม อย่างไรก็ตามการฟังแบบพาสซีฟก็ไม่ใช่สิ่งที่

เลวร้ายแต่กลับเป็นประโยชน์ของผู้ฟังบางคนด้วย

bottom of page